การเตรียมดินและแปลงปลูก | |
• |
ดินที่เหมาะกับการเจริญต้องประกอบด้วย แร่ธาตุอาหาร 45%สารอินทรีย์ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25% |
• |
ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด ด่าง (pH)
ควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 เนื่องจากแตง
เมล่อนมีระบบรากแก้วอาจเจริญในแนวดิ่งลึก 80-120
cm.รากแขนงจะเจริญในแนวนอนอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับ 30 cm.จากผิวดิน |
• |
การเตรียมดินควรไถดะหน้าเพื่อตากแดดฆ่าเชื้อโรคประมาณ 14
วัน(โดยปิดโรงเรือนให้มิดชิดพยายามไม่ให้มีอากาศภายในและภายนอกมีการถ่ายเท
อากาศ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในโรงเรือนให้สูงมากยิ่งขึ้น หากเป็นพื้นที่ ที่มีการเพาะปลูกติดต่อมาหลายครั้ง ควรกระทำดังนี้ 1. พักแปลงการเพาะปลูกประมาณ 3-4 เดือน 2. สลับการเพาะปลูกพืชตระกูลถั่ว 3. เปลี่ยนพืชการเพาะปลูกเป็นชนิดอื่น 4. ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก และเชื้อราไตรโคเดอร์มา |
โดยไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 20-30
cm.ให้ใส่ปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
พร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แล้ว ไถแปร
พรวนดินและยกแปลงปลูกสูง 30 cm.ระยะห่างระหว่างสันแปลง 1.5 เมตร
(ก่อนคลุมแปลงให้วางสายน้ำหยดก่อน โดยวางสายให้หัวน้ำหยดหงายอยู่ข้างบน)
คลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกัน
วัชพืชและรักษาความชื้นของดินพลาสติกเจาะหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 45 X
60 cm |
การเพาะกล้าการเพาะกล้า และการย้ายกล้า |
||
ลักษณะต้นกล้าที่ดี ( ใส่ภาพการเพาะกล้า ) |
||
• | ต้นแข็งแรงและโตสม่ำเสมอได้ตามอายุ | |
• | ตรงตามลักษณะสายพันธุ์ | |
• | ปราศจากโรคและแมลง | |
วิธีการเพาะกล้า |
||
1. การบ่มเมล็ด | ||
|
1.1 นำเมล็ดพันธุ์เมล่อนแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมกับ อโทนิค 1 ซี.ซี. โดยให้เมล็ดทุกส่วนถูกน้ำ แช่เมล็ดนาน 20 นาที 1.2 นำเมล็ด(ไม่ควรวางหนาแน่นเกินไป )มาวางในกระดาษเพาะกล้าหรือผ้าขาวบางชุบน้ำมาดๆ แล้วจึงห่อเมล็ด 1.3 ห่อกระดาษเพาะเมล็ดอีกครั้งด้วยถุงพลาสติกใสหรือถุงใส่แกง เก็บในที่อุณหภูมิ 28- 30 องศาเซลเซียส โดยใส่ในภาชนะที่มิดชิด เช่น กระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิ นานประมาณ 24 ชั่วโมง |
|
*คำ
แนะนำ เมื่อเปิดซองเมล็ดพันธุ์แล้วควรเพาะให้หมดในคราวเดียว
เพราะเมล็ดพันธุ์ที่เหลือเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลง
จึงควรเลือกซื้อปริมาณตามความต้องการใช้ * |
||
2. การเพาะกล้า | ||
|
•
บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอสเจียไต๋ ถุงสีเหลือง ผสมกับ เวอร์มิคูไลท์
ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 เป็นวัสดุเพาะ) ลงในถาดเพาะกล้าขนาด 50 หลุม
ไม่แน่นเกินไป รดน้ำให้ชุ่ม • นำเมล็ดจากข้อ 1.3 มาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ • รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดด • รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 10 - 12 วัน |
|
3. การย้ายกล้า | ||
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 2 ใบ หรืออายุไม่เกิน 12 วัน(หลังจากหยอดเมล็ด) ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้ |
||
• หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อนปลูกอย่างน้อย 1 วัน • ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่มและพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช • ควรย้ายกล้าในช่วง เย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด • หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า • ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต(ควรฉีดยาป้องกันเชื้อรา) • เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้น • กลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า |
การเด็ดแขนง | |
• | ให้เด็ดแขนงข้อที่ 1 – 8 ออก เมื่อเมล่อนอายุ 9 - 14 วันหลังย้ายปลูก |
• | การเด็ดแขนงควรทำในขณะที่แขนงยังมีขนาดเล็ก และทำในตอนเช้าจะทำให้แผลแห้งเร็ว แล้วให้ฉีดพ่นสารกันเชื้อราในตอนเย็น |
• | เมื่อเด็ดออกจะทำให้ยอดแตงเจริญเติบโตได้เร็ว |
การเตรียมค้างผูกเชือก และขึ้นยอด | |
• | การขึ้นยอดควรทำช่วงเช้า |
• | ควรจัดเถาเมล่อน 1 เถาต่อต้น เมื่อเมล่อนเริ่มทอดยอด ให้พันยอดกับเชือก 2 วันต่อครั้ง อย่าปล่อยให้ยอดเลื้อย |
การตัดแต่งแขนงและไว้แขนงก่อนผสม | |
ตำแหน่งที่ไว้แขนงผสมดอก | |
• | ให้เลี้ยงแขนงข้อ 9 -12 เอาไว้ผสม |
• | ควรเด็ดยอดแขนงให้เหลือ 2 ใบ |
• | เหนือข้อที่ 12 ให้เด็ดแขนงย่อยออก |
• | เด็ดยอดในข้อที่ 25 ให้มีจำนวนใบ 22 - 25 ใบ |
การผสมเกสร |
|
• | ดอกเมล่อนเป็นสมบูรณ์ คือมีเกสรตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน |
• | ดอกตัวผู้จะอยู่ระหว่างข้อบนลำต้น |
• | การผสมเกสรควรทำในตอนเช้าเวลา 7.00 – 10.00 น. |
• | เลือกผสมดอกเพียง 2 - 3 แขนงต่อต้น |
• | ควรจดบันทึกที่ดอกบานหรือจำนวนดอกที่ผสมในแต่ละวัน(ใช้ไหมพรมหลากสีพันขั้วผล เพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยว) |
• | ให้ฉีดพ่น นูริช อัตรา 15 ซีซี/ 20 ลิตร ทุกๆ 3 วัน ประมาณ 2 สัปดาห์ |
การคัดเลือกผล | |
• | เลือกแขนงที่มีผลรูปทรงไข่ ผลใหญ่ |
• | ผลสมบูรณ์ที่สุด ไม่มีรอยขีดข่วน |
• | ไม่มีโรค และแมลงเข้าทำลาย |
• | เมื่อได้ลูกที่สมบูรณ์แล้ว ควรตัดลูกที่ไม่ต้องการทิ้งให้เหลือไว้เพียง 1 ผล |
• | ควรปรับเพิ่มปริมาณการให้น้ำและปุ๋ยเพื่อให้ผลโตได้เต็มที่ไม่เกิน 18 วันหลังผสมเกสร |
• | ให้นำเชือกมาแขวนผลให้อยู่ในที่โปร่งและได้รับแสงสม่ำเสมอ |
การแขวนผล | |
• | ใช้เชือกคล้องที่ขั้วผลไว้เพื่อรับน้ำหนัก โดยยึดผลไว้กับค้างที่ยึดต้นเมล่อน |
• | ควรแขวนผลให้ขนานกับพื้นเพื่อความสะดวกในการปฎิบัติงานในฟาร์ม |
การพัฒนาของผลและการเก็บเกี่ยว |
|
• | อายุผล ฤดูร้อนประมาณ 40 วัน, ฤดูฝนประมาณ 43 วัน และฤดูหนาวประมาณ 45 วัน |
• | วัดความหวานด้วย Hand Refractometer (แบบคั้นน้ำ) ลูกอ่อน 12 brix, ลูกแก่13 brix ในช่วงระยะผลสุกแก่ เมล่อนจะต้องการน้ำน้อยลง |
การเก็บเกี่ยว | |
• | สีผลเขียวเข้มและตาข่ายขึ้นนูนชัดเจน เต็มผล |
• | นับอายุผลหลังการผสมดอก 43-45 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ |
• | ขั้วผลยกนูน หรือมีแนวแยกตามยาวที่ก้านผล |
• | ถ้าก้นผลนิ่มแสดงว่าสุกมากเกินไป |
• | สภาพต้นต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค |
• | ระหว่างการเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรตั้งผลเมล่อนบนพื้นดิน ควรจัดหาภาชนะมารองรับ |
• | ผลเมล่อนไม่ควรตากแดดหรือตั้งในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรเคลื่อนย้ายมายังที่ร่มหรืออุณหภูมิต่ำเพื่อลดอัตราการหายใจของผลผลิต |
โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อนมีดังต่อไปนี้ |
1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt) เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ เชื้อสาเหตุ : Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races) ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลาย อย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย การป้องกันกำจัด • ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5 • ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค • ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน • ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา • ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน |
2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight ) เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae ) เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ • การปลูกพืชหมุนเวียน • ใช้พันธุ์ต้านทานโรค • ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค |
3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจาย โดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำ ค้างได้เช่นเดียวกัน ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูล แตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ การป้องกันและการกำจัด • การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค • บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น • ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้ • ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด |
4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) เชื้อสาเหตุ : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร ลักษณะอาการ : อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง การป้องกันกำจัด : • ใช้สารเคมีฉีด พ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3 ครั้ง • ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน • ใช้พันธุ์ต้านทาน |
แมลงที่สำคัญ |
1. เพลี้ยไฟ ( Thrips , Haplothrips floricola Priesner ) เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชตระกูลแตงหลายชนิด เช่น แตงโม เมล่อน โดยการดูดน้ำเลี้ยง และใช้ปากเขี่ยเซลให้เป็นแผลเพื่อดูดน้ำเลี้ยง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนการเจริญเติบโต จะทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น เติบโตช้า พืชอ่อนแอ และทำให้ใบ ลำต้น แห้งตายได้ เพลี้ยไฟจะมีการแพร่กระจายโดยลม ทำให้การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว การป้องกันกำจัด • ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้สารเคมี โดยการใช้ ชอสแมค 30 ซีซี + สารน้ำมัน ดีซีตรอน พลัส 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้สารเคมี อื่นๆ ควบคู่กันไปเช่น ทามารอน แอมมิรอน นูวาครอน อะโซดริน แลนเนท เมซูโรล |
2. แมลงวันทอง ( Melon Flies , Dacus spp) แมลงวันทองจะทำลายโดยการเจาะและวางไข่ที่ผล ตัวอ่อนถ้ามีการระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงเน่า หรือแก่ก่อนเวลา ทำให้ได้ผลมีคุณภาพต่ำ การป้องกันกำจัด • ใช้เมททิล ยูจินอล เป็นเหยื่อล่อ โดยทำการผสมกับ มาลาไทออน อัตรา 100 : 200 ฉีดเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณ 1-2 เมตร • ฉีดพ่น เมซูโรล , ฟอริดอน 50 % EC อัตรา 0.2 % ดิปเทอเร็ก 80 % WP อัตรา 0.3 % Lebaycid 50 % EC อัตรา 0.26 % ใช้กระดาษห่อผลหลังจากผสมดอกแล้ว |
3. เต่าแตง ( Cucurbit Leaf Beetle , Yellow Squash Beetle ) โดยปกติทั่วไปเต่าแตงจะมีสีของลำตัว 2 สี คือ ชนิดสีดำ ( Aulacopphola frontalis Baly ) และเต่าแตงชนิดสีแดง (Aulacopphola semilis Oliver.) เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีทั้งสีแดง สีน้ำตาลเกือบดำ แต่สีแดงจะพบเห็นมากกว่า อย่างไรก็ตามในต่างประเทศลักษณะของเต่าแตงจะมีสี และ ลักษณะต่างกันออกไปเช่นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน การเข้าทำลายจะเข้าแทะกัดกินใบและยอดอ่อน นอกจากนี้เต่าแตงยังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสได้อีกด้วย การป้องกันกำจัด • ป้องกันโดยการใช้ น๊อคทริน 25 % อัตรา10 - 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น • การใช้สารเคมีชนิดอื่นๆเช่น เซฟวิน ธีโอดาน ทามารอน ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วัน |
4. แมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพืชตระกูลแตงค่อนข้างกว้างขวาง มีหลายชนิด เช่น Greenhouse whitefly ( Trialeurodes vaporariorum) Silverleaf whitefly ( Bemesia argentifolii ) โดยทั่วไปแมลงหวี่ขาวจะอยู่บริเวณใต้ใบอ่อน แมลงชนิดนี้จะเป็นพาหะของโรค ไวรัส ในพืชตระกูลแตงหลายชนิด การป้องกันกำจัด • ใช้สารเคมีในการกำจัดเช่น เมธามิโดฟอส อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร • สารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น ไบเฟนทริน เพอร์มีทรีน เอนโดซัลแฟน (ไทโอดาน) ออกซามิล (ไวเดท แอล) อิมิดาโครพริด หมายเหตุ : การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ความหนาแน่นของแมลง สภาพอากาศ อุณหภูมิ และผลเสียที่ได้รับจากโรคและแมลง สารเคมีควรใช้ในอัตรา กลาง – ต่ำ และควรฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น และงดการใช้สารเคมีทุกชนิดก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 – 10 วัน Sorce : http://www.chiataigroup.com |
No comments:
Post a Comment